ลงบ่อเกรอะเสียชีวิตได้อย่างไร จะรู้และป้องกันอย่างไร

แชร์บทความนี้

         น่าเสียใจที่เราจะได้ข่าวเหตุการณ์ที่มีผู้ปฏิบัติงานที่ต้องสูญเสียชีวิตขณะทำงานไม่ว่าจะสาเหตุใดก็ตามข่าวล่าสุดในเดือนสิงหาคม 2020 ที่ผู้รับเหมารับจ้างดูดสิ่งปฏิกูลที่ต้องมาเสียชีวิตลง ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์สาเหตุในเบื้องต้นอาจมีสาเหตุมาจาก การสูดดมก๊าซไข่เน่า หรือที่เรียกว่าไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen sulfide) ที่มีความเข้มข้นสูงเข้าร่างกาย เรามาทำความรู้จักกับก๊าซไข่เน่ากันดีกว่า

ก๊าซไข่เน่า(ไฮโดรเจนซัลไฟด์) ไม่มีสี มีกลิ่นเหมือนไข่เน่า ละลายได้ดีในน้ำส่วนใหญ่เกิดจากการเน่าเปื่อยของสารอินทรีย์ที่มีซัลเฟอร์เป็นองค์ประกอบ ก๊าซไข่เน่าเป็นแก๊สติดไฟได้ เมื่อติดไฟแล้วจะให้เปลวไฟสีน้ำเงินและเกิดแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ออกมา การสัมผัสไฮโดรเจนซัลไฟด์เพียงเล็กน้อยทำให้เกิดการระคายเคืองต่อดวงตาและปอด หากสูดดมเข้าไปจะมีผลทำให้เสียชีวิตได้ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่ามีปริมาณเท่าใด เพื่อที่จะเลือกใส่อุปกรณ์ป้องกันลงไปทำงาน

สิ่งแรกที่ควรทำคือการตรวจวัด โดยเครื่องวัดแก๊สไข่เน่าไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) 

ลงบ่อเกรอะเสียชีวิตได้อย่างไร จะรู้และป้องกันอย่างไร

โดยปรกติแล้วเครื่องวัดแก๊สพวกนี้จะมีการแจ้งเตือนในแต่ละระดับความสำคัญตั้งแต่ค่า TWA,STEL,ก่อนที่จะถึงระดับที่เรียกว่า IDLH  โดยที่ค่าเหล่านี้อธิบายคร่าวๆได้ดังนี้

STEL (Short-term ExposureLimit) หมายถึง ค่าความเข้มข้นสูงสุดที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถจะสัมผัสอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาสั้นๆ (สัมผัสวันละ 4 ครั้งๆ ละ 15 นาที ห่างกัน 1 ชั่วโมง) โดยไม่ได้รับอันตราย เช่น การระคายเคือง มึนเมา หรืออาการเรื้อรัง

TWA (Time-Weight Average) หมายถึง ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของสารเคมีในอากาศสำหรับการทำงาน 8 ชั่วโมงใน 1 วัน หรือ 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งผู้ปฏิบัติงานเกือบทั้งหมดสามารถสัมผัส (Exposure) ซ้ำแล้วซ้ำอีก วันแล้ววันเล่าโดยปราศจากอันตรายต่อสุขภาพ

IDLH (Immediately Dangerous To Life or Health) ค่าความเข้มข้นของสารพิษที่เป็นอันตรายต่อชีวิตหรือสุขภาพในทันที ในการตรวจวัดก๊าซหรือไอจะใช้หน่วยเป็น PPM  – Part Per Million (ส่วนในล้านส่วน) 

ก๊าซไข่เน่ามีค่าการแจ้งเตือนสำคัญๆที่เครื่องตรวจวัดควรจะมี ในระดับต่างๆดังนี้

Low Alarm10 ppm

High Alam15 ppm

STEL15 ppm

TWA 10 ppm 

IDLH100 ppm  (ค่าความเข้มข้นของสารพิษที่เป็นอันตรายต่อชีวิตหรือสุขภาพในทันที)

จากค่าการแจ้งเตือนของเครื่องตรวจวัดจะเห็นได้ว่าถ้าเราทำการตรวจวัดก๊าซไข่เน่าเครื่องจะเตือนที่ 10 ppm โดยจะเตือนก่อนที่จะได้รับอันตรายถึงชีวิตล่วงหน้าก่อน 10 เท่า ก่อนที่จะถึง 100 ppm จะทำให้เราปลอดภัยแน่นอน ทีนี้เราจะมาสังเกตุอาการในการรับก๊าซไข่เน่าของแต่ละช่วง ppm ว่าอาการจะเป็นอย่างไร

ความเข้มข้นและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

ความเข้มข้นที่อาการและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
2-5 ppmอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้น้ำตาไหลปวดศีรษะหรือนอนไม่หลับ มีปัญหาทางเดินหายใจ (หลอดลมตีบ) ในผู้ป่วยโรคหอบหืดบางราย
20 ppmอาจมีอาการอ่อนเพลียเบื่ออาหารปวดศีรษะหงุดหงิดความจำไม่ดีเวียนศีรษะ
100 ppmสูญเสียการได้กลิ่นหลังจากผ่านไป 2-15 นาที มีอาการง่วงนอนหลังจากผ่านไป 15-30 นาที ระคายคอหลังจาก 1 ชั่วโมง ความรุนแรงของอาการเพิ่มขึ้นทีละน้อยในช่วงหลายชั่วโมง ความตายอาจเกิดขึ้นหลังจาก 48 ชั่วโมง
100-150 ppmการสูญเสียการได้กลิ่น
200-300 ppmระคายเคืองทางเดินหายใจหลังจาก 1 ชั่วโมง อาการบวมน้ำในปอดอาจเกิดขึ้นจากการได้รับสารเป็นเวลานาน
500-700 ppmทำลายดวงตาอย่างรุนแรงใน 30 นาที เสียชีวิตหลังจาก 30-60 นาที
700-1000 ppmหมดสติอย่างรวดเร็ว หรือล้มลงทันทีภายใน 1 ถึง 2 การสูดลมหายใจ และจะหยุดหายใจเสียชีวิตภายในไม่กี่นาที
1000-2000 ppmเกือบจะเสียชีวิตทันที

นอกเหนือจากความเป็นพิษของก๊าซไข่เน่าแล้วเรายังต้องระวังเรื่องของปริมาณออกซิเจนที่จะต้องมีเพียงพอที่เราจะสามารถหายใจได้อย่างปลอดภัย หรือเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันได้อย่างถูกต้อง

References

https://www.cdc.gov/niosh/idlh/default.html

https://s7d9.scene7.com/is/content/minesafetyappliances/5500-015-MC%20OSHA%201926%201200%20Confined%20Space%20Construction

บทความเกี่ยวเนื่อง

ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ความปลอดภัย 

https://thai-safetywiki.com/safety-knowledge-53

อุปกรณ์ทำงานในที่อับอากาศ (Confined Space)

https://thai-safetywiki.com/confine-space

facebook : Thai-Safetywiki

ติดต่อเรา : Thai-Safetywiki

การเลือกใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือ SCBA (Self Contained Breathing Apparatus)

แชร์บทความนี้

เนื่องจากเครื่องช่วยหายใจ หรือ SCBA( Self Contained Breathing Apparatus ) มีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้นก่อนที่จะทำการซื้อเครื่องช่วยหายใจ

อ่านต่อ »

อุปกรณ์Emergency Shower ชนิดSelf-Contained Eyewash

แชร์บทความนี้

ในปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่าในการทำงานร่วมกับสารเคมีนั้นมีโอกาสที่ผู้ปฏิบัติงานอาจได้รับอันตรายจากสัมผัสสารเคมีดังกล่าวโดยไม่ตั้งใจ…

อ่านเพิ่มเติม »

Sensor สำหรับวัดแก๊สติดไฟ รู้ไว้ ใช้ถูก

แชร์บทความนี้

หลังจากได้เรียนรู้เรื่องหน่วยของการวัดแก๊สติดไฟ กันไปในบทความครั้งที่แล้ว ครั้งนี้เราจะมาเจาะลึกถึงชนิดของ Sensor สำหรับวัดแก๊สติดไฟ เพื่อให้การใช้งานเป็นไป

อ่านเพิ่มเติม »